คดีแพ่ง/พาณิชย์ คดีแพ่ง คือ คดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ ซึ่งโดยหลักแล้วแบ่งออกเป็น 1. พิพาทเกี่ยวกับสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์กฎหมายเท่านั้น 2. พิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดระหว่างบุคคล 3. พิพาทเกี่ยวกับทรัพย์ หมายถึง มีข้อโต้แย้งกันว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ใด คดีพาณิชย์ คือ คดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ในการค้าขายเป็นหลัก ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ หรือ ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค สำหรับประเทศไทยจะใช้หลักการพิจารณาคดีอย่างเดียวกันกับคดีแพ่ง แต่ก็มีแนวคิดที่จะแยกแผนกให้มีแผนกคดีพาณิชย์เป็นการเฉพาะ ซึ่งจะต้องคำนึ่งถึงกฎหมายพิเศษอื่นๆด้วย เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาอันไม่เป็นธรรม ฯลฯ ตัวอย่างคดีแพ่ง/พาณิชย์ 1. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาไม่มีชื่อ คือ สัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดคุณลักษณะพิเศษไว้เป็นการเฉพาะ ขอให้เข้าหลักเกณฑ์การเกิดสัญญาก็สามารถบังคับได้ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว เช่น สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา 2. คดีพิพาทเกี่ยวเอกเทศสัญญา คือ สัญญาที่มีกฎหมายกำหนดคุณลักษณะพิเศษไว้เป็นการเฉพาะ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 มี อยู่ 23 ลักษณะ คือ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ18.การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท สมาคม 3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดระหว่างบุคคล คือ คดีที่โต้แย้งสิทธิกันระหว่างบุคคลซึ่งไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับสัญญา(รวมถึงเกี่ยวกับกรณีที่สัญญาเป็นโมฆะด้วย) การจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ เช่น – คดีเรียกค่าเสียหายจากรถชนคน – คดีเรียกเงินหรือทรัพย์สินคืน จากการที่สัญญาเป็นโมฆะ – คดีเรียกค่าเสียหายจาการหมิ่นประมาท – คดีเรียกค่าเสียหายจาการถูกทำร้ายร่างกาย – คดีขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ